twitterfacebookgoogle pluslinkedinrss feedemail

Sunday, August 27, 2017

โรคเก๊าท์

ความสัมพันธ์โรคเก๊าท์กับกรดยูริก

โรคเก๊าท์ (Gout)  คือ โรคที่เกี่ยวกับการปวดข้อชนิดหนึ่ง อาการจะเป็นเรื้อรัง แน่นอน โรคที่เกี่ยวกับข้อนั้น มีหลายชนิด เช่น โรคเก๊าท์  โรครูมาตอยด์ (ดังได้กล่าไว้ในตอนที่แล้ว : อ่านเพิ่มเติม) ส่วนใหญ่มักเป็นในผู้ใหญ่ ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง  อาจเป็นเพียงข้อเดียว หรือหลายข้อพร้อมกัน การรับประทานอาหารบางประเภทก็อาจทำให้เป็นโรคเก๊าท์ได้ แล้วอะไรหละที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรค คงไม่ใช่อาหารโดยตรง แต่เป็นผลจากการสะสมของปริมาณกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป เป็นยังไงมาดูกันเลยครับ 

อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรค

การที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อร่างกายมีกรดยูริกสะสมอยู่เป็นเวลานาน ทำให้กรดยูริกเกิดการตกตะกอนสะสมอยู่ตามข้อต่อต่างๆ  จนเกิดการสะสมมากขึ้น ๆ  ก่อให้เกิดการอักเสบ และปวดร้อน บวมตามข้อต่อ นอกจากจะทำให้ข้อต่อเกิดการอักเสบแล้ว กรดยูริกอาจไปสะสมในไตได้ ทำให้เกิดโรคนิ่วในไต จนทำให้ไตเสื่อมได้เช่นกัน

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

-          การรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล บ่อย ๆ
-          ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ๆ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการขับกรดยูริก ไตจึงขับกรดยูริกได้น้อยลง ทำให้เลือดมีกรดยูริกมากขึ้น
-          ยาบางชนิด  เช่น แอสไพริน (aspirin) ไนอาซิน (niacin) หรือการใช้ยา-ขับปัสสาวะ (diuretics)
-          โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง
-          การบาดเจ็บที่ข้อกระดูก

ลักษณะอาการของโรค

มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง โดยไม่มีสัญญาณบอกอาการมาก่อน ส่วนที่แสดงอาการก่อน ได้แก่ ข้อเท้า ข้อเข่า และนิ้วหัวแม่เท้า  จะเจ็บมากเมื่อถูกสัมผัส  อาการจะทุเลาลง และหายปวดภายใน 1 สัปดาห์
ถ้าไม่ได้รักษา หรือดูแลไม่ดี อาการอาจกลับมาเป็นใหม่ใน 1-2 ปี โดยเป็นในตำแหน่งเดิมที่เคยเป็น และจเป็นถื่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาการปวด บวม แดง จะเป็นนานขึ้น และตำแหน่งที่เป็นก็จะมากขึ้นจากเดิม การอักเสบที่มากขึ้น จะมีก้อนเกิดขึ้นในบริเวณที่อักเสบบ่อย ๆ เหตุที่เป็นก้อนเกิดขึ้น ก็คือกรดยูริกที่สะสมมาเป็นเวลานาน ก้อนนี้สามารถโตขึ้นได้ จนอาจแตกออก จะมีสารขาว ๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟันไหลออกมา ทำให้เป็นแผลเรื้อรัง หายช้า

การดูแลรักษาด้วยตนเอง


ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายขับกรดยูริกออก ลดการตกตะกอนของกรดยูริก
พักผ่อนให้เพียงพอ
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท
งดอาหารที่มีกรดยูริกสูง หรือรับประทานในปริมาณที่จำกัด ได้แก่
1.      เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก
2.      กะปิ
3.      ปลาซาดีน  ปลาดุก ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอลเฃลล์ ไข่ปลา
4.      ไข่ปลา
5.      น้ำซุปสกัดจากเนื้อสัตว์  ซุปก้อน
6.      ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว  กินได้แต่ต้องกินในปริมาณจำกัด
7.      หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ดอกกะหล่ำ เห็ด กระถิน ชะอม สะเอา ยอดมะพร้าวอ่อน ข้าวโอ๊ต  ควรกินในปริมาณที่จำกัด

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ที่สนใจการรักษาแพทย์ทางเลือก
ติดต่อสอบถาม คลินิกหมอประสิทธิ์


ที่อยู่ :  344 หมู่ 4 ตำบลหนองจ๊อม
                          อำเภอสันทราย
                          จังหวัดเชียงใหม่ 50210

โทรศัพท์ : 089-754-1940 

Wednesday, August 23, 2017

คุณรู้จักโรครูมาตอยด์ดีหรือยัง

คุณรู้จักโรครูมาตอยด์ ดีหรือยัง

              ครั้งหนึ่งผู้เขียนมีความเข้าใจผิดคิดว่า โรครูมาตอยด์ นี้ก็คือโรคหัวใจ ประเภทหนึ่ง ซึ่งพอได้มารู้ว่า โรครูมาตอยด์ คืออะไรแล้ว ต้องบอกเลยครับว่า ไม่รู้คิดไปได้ยังไงว่า โรคนี้เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ จริง ๆ แล้วโรคนี้ มีความเกี่ยวข้องกับกระดูก เกี่ยวข้องกับการอักเสบของข้อต่าง ๆ ครับ เอ๋! มันก็คล้าย ๆ กับโรคเก๊าท์เลยเนี่ย อาเป็นว่าเรามาศึกษาโรครูมาตอยด์กันก่อน ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร

โรครูมาตอยด์ คืออะไร

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid)  คือ อาการอักเสบของข้อต่าง ๆ ที่เป็นเรื้อรัง จนอาจเป็นเหตุทำให้ลุกลาม ทำลายกระดูกในที่สุด บริเวณส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยมักจะเป็น ได้แก่ บริเวณเยื่อบุข้อ และเยื่อบุเส้นเอ็น                                                                       

สาเหตุของโรค

                ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การศึกษาพบว่า อาจเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด หรือจากกรรมพันธุ์

ลักษณะอาการของโรค

            ระยะแรก จะมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ มักเป็นในตอนเช้า
               ระยะสอง บริเวณข้อที่ปวด เริ่มมีอาการบวมร้อน
                อาการอื่น ๆ เข่นมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย

การวินิจฉัยด้วยตนเอง

            การตรวจสอบร่างกายตนเองว่า เป็นโรครูมาตอย์ หรือไม่นั้น เราสามารถพิจารณาเบื้องต้น ได้ดังนี้
1.       มีอาการปวดข้อต่าง ๆ หลายข้อพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และเป็นเรื้อรังไม่ยอมหาย
2.       อาการปวดตามข้อต่าง ๆ มีอาการบวม รู้สึกร้อน และเมื่อกดบริเวณที่เป็นจะรู้สึกว่าเจ็บ
3.       มีอาการข้อยึดแข็ง ขยับตัวได้ค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะตอนเช้า

     วิธีการรักษา

                สามารถรักษาได้ 2 วิธี คือ การรับประทานยา และการผ่าตัด
ซึ่งการรับประทานยา โดยเฉพาะยาแผนปัจจุบัน นั้น ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ห้ามซื้อมารับประทานเอง เพราะว่ายาแผนปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่จะมีผลข้างเคียง ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ ควรออกกำลังกาย บริเวณร่างกาย ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว โดยเฉพาะบริเวณข้อต่าง  ๆ  แต่ควรออกกำลังเท่าความสามารถของตนเองจะทำได้ อย่าหักโหม เกินกำลัง

ควรหลีกเลี่ยงอาหาร

อาหารทอดต่าง ๆ 
พื่ชตระกูลมะเขือ
น้ำตาล แป้งขัดขาว

เคร่ื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่าง ๆ


            จริง ๆ แล้วไม่ได้มีข้อห้ามแต่ประการใด แต่ไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากเกินไป แทนที่จะมีคุณ กลับเป็นโทษแทน

อาหารแปรรูป

              อาหารแปรรูป ส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนปฏิสัมพันธ์ ทางเคมี เช่น การปิ้ง การรมควัน การใช้สีผสมอาหาร การใส่สารกันบูด เป็นต้น 

โปรตีนกลูเตน

ไขมันโอเมก้า 3


             เพราะว่าไขมันโอเมก้า มีกรดไขมันมาก ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด

และ อาหารจำพวกนมต่าง ๆ  ข้าวโพด ไข่ และผลไม้ตระกูลส้ม และเนื้อสัตว์ทุกชนิดไม่ควรรับประทาน เพราะจะไปกระตุ้นให้โรคกำเริบได้

สำหรับผู้ที่สนใจ แพทย์ทางเลือก การรักษาแนวแผนโบราณ
ผู้มีปัญหา โรครูมาตอยด์ สามารถโทรปรึกษา คุณหมอ ได้
คุณหมอ มียาสำหรับรักษาโรครูมาตอยด์ 
สนใจติดต่อสอบถาม ที่คุณหมอ ได้โดยตรง

คลินิคหมอประสิทธิ์

344 หมู่ 4 ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210

โทรศัพท์ : 089-754-1940






           


Tuesday, March 14, 2017

อาการโรคภูมิแพ้-ไซนัส

อาการภูมิแพ้ - ไซนัส

             ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุ ซึ่งมีมากกว่าร้อยสายพันธ์ุ ไข้หวัดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกเพศทุกวัย บางคนเป็นไข้หวัดปีละครั้ง บางคนเป็นหวัดตลอดทั้งปี (โรคหวัดเรื้อรัง ) ปกติการรักษาให้หาย ใช้เวลาไม่นาน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่แล้วภายใน 3 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น อาการโดยทั่วไปมักมีน้ำมูกไหล ไอ จาม บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ

             การเป็นหวัดเรื้อรังนาน ๆ หลายปีก็จะกลายเป็นโรคภูมิแพ้ได้ (แพ้อากาศ เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง สารเคมี ฯลฯ) เกิดจากอวัยวะภายใน ปอด - กระเพาะอาหาร - ไต ทำงานด้อยประสิทธิภาพลงจึงเป็นเหตุให้เกิดโรค การรักษาไม่หายขาด เป็นเรื้อรัง หลาย ๆ ปี จึงกลายเป็นโรคไซนัส อาการปวดหัว ปวดระหว่างคิ้ว หรือปวดบริเวณโคนจมูก แยกกลิ่นหอมกลิ่นเหม็นไม่ได้ มักได้แต่กลิ่นคาว ซึ่งเป็นการอักเสบของโพรงจมูก อาจมีเม็ดหรือติ่งยื่นออกมา ทำให้แน่นจมูก หายใจลำบาก มักจะอ้าปาก เพื่อช่วยหายใจ น้ำมูกไหลกลับเข้าสู่ในคอ ทำให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย บางครั้งมีไข้ร่วมด้วย โรคนี้เกิดจากอวัยวะตับ - ปอด - กระเพาะอาหารเป็นต้นเหตุ

                รู้เหตุของโรครักษาให้หายได้ แต่ไม่รู้เหตุต้องรักษาตลอดชีวิต

                ที่นี่มียาแก้โรคภูมิแพ้ - ไซนัส ตามตำรับยาจีนที่สืบทอดกันมา

                 มีประสบการณ์การรักษา


           
ติดต่อได้ที่นี่   ไปหน้าติดต่อที่อยู่